วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

อักษรนำ

อักษรนำ

อักษรนำ คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมด้วยสระตัวเดียวกัน พยัญชนะตัวแรกของคำจะต้องเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง จะอ่านออกเสียง “อะ” เพียงกึ่งเสียง พยัญชนะตัวหลังจะต้องเป็นอักษรต่ำเดี่ยว จะออกเสียงตามเสียงสระที่ประสม และจะอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงพยัญชนะตัวแรก พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกันร่วมสระผันในหลักภาษา
  • อักษรสูงอักษรกลางนำพา
  • อักษรตัวหน้าเรียก “อักษรนำ”
  • อักษรตัวตามอักษรต่ำเดี่ยว เสียงที่ข้องเกี่ยวมันดูลึกล้ำ เหมือนมีตัว “ห” มานำทุกคำ
อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว
  • ผนวช (ผะ –หนวด) ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนไป ไม่ใช่ ผะ – นวด อย่างที่เคยใช้ เสียง “น” เปลี่ยนไปตามอักษรนำ
อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว
  • ตลาด (ตะ – หลาด) ตัวเดียวเสียงก็เปลี่ยนคำ ไม่ใช่ ตะ – ลาด อย่างที่เคยทำ แต่สบาย (สะ – บาย) ไม่ใช่อักษรนำ เมื่อแยกคำอ่าน สะ –บาย คงที่เสียง “อะ” ไม่ประวิสรรชนีย์ กึ่งเสียงเท่านี้ไม่มี “ห” นำ หากตัว “ห” นำอักษรต่ำเดี่ยว เสียง “อะ” ไม่เกี่ยวกลมเกลียวทุกคำ เสียงที่เปลี่ยนไปคืออักษรต่ำ 
การออกเสียง จะออกเสียงพยัญชนะสองตัวผสมกันคนละครึ่ง พอแยกออกได้ว่าพยัญชนะอะไรผสมกัน แต่การผสมนี้จะไม่สนิทเท่าอักษรควบแท้ มียกเว้นอยู่ 2 กรณีที่จะไม่ออกเสียงพยัญชนะอีกตัว ได้แก่
  • ตัว ห เมื่อเป็นตัวนำอักษรเดี่ยว ไม่ต้องออกเสียงคนละครึ่งเหมือนอักษรนำอื่น ๆ แต่ให้ออกเสียงประสมกันสนิทเหมือนอักษรควบแท้ เช่น หนู หมอ ใหญ่ ฯลฯ
  • ตัว อ เมื่อนำหน้า ตัว ย ไม่ต้องออกเสียงเหมือนอักษรนำธรรมดา ให้ออกเสียงทำนองเดียวกับ ห นำ แต่เป็นเสียงอักษรกลาง คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก มี 4 คำเท่านั้น
ถ้าพยัญชนะข้างหน้าเป็นอักษรกลางหรืออักษรสูง แล้วพยัญชนะข้างหลังเป็นอักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว เวลาอ่านให้ผันเสียงอักษรต่ำนั้นเป็นเสียงสูงตามอักษรที่เป็นตัวนำ แต่ถ้าพยัญชนะข้างหน้าเป็นอักษรต่ำ หรือพยัญชนะข้างหลังไม่ใช่อักษรต่ำที่เป็นอักษรเดี่ยว ให้อ่านออกเสียงพยัญชนะนั้นตามปกติเมื่ออกเสียงจะต้องมีคำควบกล้ำผสมอยู่ด้วย


วิธีสังเกตอักษรนำ
1. สังเกตเสียงออกเสียงประสมกันแต่ไม่กล้ำกันสนิทเหมือนอักษรควบแท้ สามารถแยกเป็นสองพยางค์ได้ ยกเว้น ห และ อ ที่เป็นตัวนำ (อักษรนำที่ ห และ อ นำนั้นเป็นอักษรนำ แต่ไม่อ่านแบบอักษรนำ)
2. คำที่มีสระหน้าหรือสระคร่อม (สระหน้า-บน-หลัง) คำที่มีอักษรนำส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับอักษรหลัก และรูปสระล้อมรอบอยู่ด้านนอก เช่น เฉลย แสลง (สะ-แหลง) ไฉน เสมียน เถลิง เสลา ฯลฯ มีส่วนน้อยที่อักษรแยกจากกันเช่น ขโมย ทแยง สแลง (สะ-แลง)
3. สังเกตรูปพยัญชนะ คือ ถ้าอักษรนำเป็นอักษรสูง หรืออักษรกลาง อักษรเดี่ยวซึ่งเป็นตัวที่ 2 จะต้องออกเสียงเป็นเสียงสูงหรือกลางตามไปด้วย เช่น กนก ถนน สนิม ขนม ฯลฯ ในที่นี้ นก นน และ นิม ต้องออกเสียงให้เป็น หนก หนน หนิม ซึ่งผิดกับเมื่ออยู่ตามลำพัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น