วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

มารู้จักภาษาไทยกัน


ก่อนอื่นเรามารู้จักหลักภาษากันก่อน

หลักภาษาไทย

 สระ 

รูปสระ มี  21  รูป  และมีชื่อเรียกต่าง ๆ ดังนี้
1. ะ    วิสรรชนีย์                                 12. ใ   ไม้ม้วน 
2. ั    ไม้หันอากาศ                            13. ไ   ไม้มลาย 
3. ็    ไม้ไต่คู้                                   14. โ    ไม้โอ 
4. า    ลากข้าง                                  15. อ    ตัว ออ 
5. อิ   พินทุ์อิ                                    16. ย    ตัว ยอ 
6. ‘    ฝนทอง                                    17. ว    ตัว วอ 
7. อํ   นิคหิตหรือหยาดน้ำค้าง               18. ฤ    ตัว รึ 
8. ”    ฟันหนู                                    19. ฤๅ  ตัว รือ 
9. อุ   ตีนเหยียด                               20. ฦ   ตัว ลึ 
10. อู   ตีนคู้                                     21.ฦๅ  ตัวลือ                   22. ฦา ตัว ลือ
11. เ   ไม้หน้า 
เสียงสระ เมื่อนำรูปสระทั้ง 21 รูป มารวมกัน จะได้สระทั้งหมด 32 เสียง จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
- สระแท้ มี 18 เสียง แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น ได้แก่  อะ  อิ  อึ   อึ   เอะ   เออะ   โอะ   แอะ   เอาะ
สระเสียงยาว ได้แก่   อา   อี   อื   อู   เอ   เออ   โอ   แอ   ออ
 
- สระประสม มี 6 เสียง ได้แก่
 เอีย        เกิดจากเสียง         -ี + -า         เอีย
 เอียะ      เกิดจากเสียง         -ิ  +  -ะ       เอียะ
 เอือ        เกิดจากเสียง         -ื  +  -า       เอือ
 เอือะ      เกิดจากเสียง         -ึ  +  -า       เอือะ
 อัว         เกิดจากเสียง         -ู  + -า        อัว
 อัวะ        เกิดจากเสียง         -ุ  +  -ะ       อัวะ
- สระลอย มี 8 เสียง ได้แก่  ฤ   ฤา   ฦ   ฦ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
วรรณยุกต์ 

คือ เครื่องหมายที่ใช้กำกับคำเพื่อให้มีระดับเสียงต่างกัน ภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์มีเเต่สระกับพยัญชนะก็พอเเล้วจะอ่านสูงๆ ต่ำๆ อย่างไรก็เเล้วเเต่ในภาษาไทยนิยมใช้วรรณยุกต์ด้วย จึงต้องมีอักษรวรรณยุกต์บังคับอีกต่อหนึ่ง จะอ่านเป็นสูงๆ ต่ำๆ ตามอำเภอใจไม่ได้ 
ประโยชน์ของวรรณยุกต์ คือ ช่วยทำให้คำมีความหมายมากขึ้น แตกต่างจากภาษาของชาติอื่นๆ เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า (เสียงนี้มี 4 ความหมาย) ต่างจากภาษาอังกฤษไม่ว่าจะออกเสียง dog สูงต่ำอย่างไร ความหมายคงเดิม
ปา หมายถึง ขว้างปา 
ป่า หมายถึง ที่มีต้นไม้ภูเขา และสัตว์ 
ป้า หมายถึง พี่ของพ่อหรือแม่ 
ป๊า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา 
ป๋า หมายถึง พ่อในภาษาบางภาษา
วรรณยุกต์มี 4 รูป 5 เสียง เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
  • เสียงสามัญ คือ เสียงกลางๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
  • เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
  • เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
  • เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
  • เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
การผันวรรณยุกต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. วรรณยุกต์มีรูป หมายถึง วรรณยุกต์ที่มีเครื่องหมายบอกระดับของเสียงให้เห็นชัดเจนอยู่บนอักษรมีอยู่ 4 รูป คือ วรรณยุกต์เอก, วรรณยุกต์โท, วรรณยุกต์ตรี และวรรณยุกต์จัตวา โดยลำดับและให้เขียนไว้บนอักษรตอนสุดท้าย เช่น ก่ ก้ ก๊ ก๋ ปั่น ปั้น ลื่น เลี่ยน เป็นต้น ถ้าเป็นอักษรควบหรืออักษรนำให้เขียนไว้บนอักษรตัวที่ 2 เช่น ครุ่น คลื่น เกลื่อน เกล้า ใกล้ เสน่ห์ หมั่น โกร๋น ฯลฯ
รูปวรรณยุกต์นี้เริ่มใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่มีใช้อยู่เพียง 2 รูปเท่านั้นคือไม้เอกกับไม้โท แต่ไม้โทในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปกากบาท ( + ) เหมือนไม้จัตวาในปัจจุบัน ต่อมาในปลายสมัยกรุงสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนรูปกากบาทมาเป็นรูปไม้โทในปัจจุบัน ส่วนไม้ตรีกับไม้จัตวายังไม่มีใช้ น่าจะเพิ่มมีใช้เมื่อตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงจะได้คิดสำหรับใช้เขียนคำที่มาจากภาษาจีนเป็นมูลเหตุ ดังปรากฎคำเขียนอยู่ในกฎหมายศักดินาพลเรือน ซึ่งมีคำเขียนเป็นภาษาจีนที่ใช้ไม้ตรีและจัตวากำกับอยู่หลายชื่อเช่น จุ้นจู๊ – นายสำเภา, บั๋นจู๊ – พนักงานซ่อมแปลงสำเภา เป็นต้น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือก่อนนั้นขึ้นไปก็ยังไม่มีวรรณยุกต์ตรี หรือวรรณยุกต์จัตวาใช้ ข้อนี้มีหลักฐานยืนยันอยู่ในหนังสือจินดามณี ซึ่งเป็นตำราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่งขึ้นในสมัยนั้น มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึ่งว่า
    สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์ 
พินเอกพินโททัณ ฑฆาตคู้ 
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา 
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน
ข้อความในโคลงบทนี้แสดงให้เห็นว่า แม้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีรูปวรรณยุกต์ตรี และ วรรณยุกต์จัตวาใช้ ถ้ามีใช้คงจะได้ปรากฎอยู่ในโคลงบทนี้ เพราะเป็นตำราเรียนอยู่ในสมัยนั้น
2. วรรณยุกต์ไม่มีรูป ได้แก่ เสียงที่มีทำนองสูงต่ำตามหมวดหมู่ของตัวอักษร โดยไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับก็อ่านออกเสียงได้เหมือนมีรูปวรรณยุกต์กำกับอยู่ด้วยเช่น นา หนะ นาก นะ หนา ฯลฯ
วรรณยุกต์ไม่มีรูปต่างกับวรรณยุกต์ที่มีรูป คือ วรรณยุกต์ที่มีรูปจะต้องมีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับอยู่บนตัวอักษร และมีเพียง 4 เสียงเท่านั้นคือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา ตามรูปวรรณยุกต์แต่ไม่มีเสียงสามัญ ส่วนวรรณยุกต์ไม่มีรูปจะมีครบทั้ง 5 เสียงเต็มตามจำนวนเสียงที่กำหนดใช้อยู่ในภาษาไทย โดยไม่มีเครื่องหมายบอกเสียงกำกับ แต่อาศัยการออกพื้นเสียงตามหมู่ของอักษรทั้ง 2 ดังนี้ (พื้นเสียง คือ คำที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์แต่มีเสียงวรรณยุกต์)
  • คำเป็น คือ คำที่ประสมกับสระเสียงยาว หรือเสียงสั้นที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่น มา กิน ข้าว ฯลฯ
  • คำตาย คือ คำที่ประสมกับสระเสียงสั้น หรอเสียงยาวที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น เด็ก นะ จาก ฯลฯ
คำตายผันได้ 3 คำใช้วรรณยุกต์ เอก โท จัตวา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 
1. คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
2. คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
วิธีผันอักษร 3 หมู่ ที่เรียกว่า ไตรยางศ์นั้นใช้ผันรูปวรรณยุกต์ต่างๆ กันดังนี้ อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์เอก และโท คำเป็นผันได้ 3 คำ คำตายผันได้ 2 คำ
พยัญชนะเสียงสูง
คำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขา ขง ขน ขม เขย ขาว ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก เช่น ข่า ข่ง ข่น ข่ม เข่ย ข่าว ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้า ข้ง ข้น ข้ม เข้ย ข้าว
คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขะ ขก ขด ขบ ขาก ขาด ขาบ ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด ข้บ ข้าก ข้าด ข้าบ อักษรกลางผันด้วยวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรี วรรณยุกต์จัตวา
พยัญชนะเสียงกลาง
คำเป็น ผันได้ 5 คำ
พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว

ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรีเป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
คำตาย ผันได้ 4 คำ คำเป็น        พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา กง กน กม เกย กาว
ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ก่ง ก่น ก่ม เก่ย ก่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงโท เช่น ก้า ก้ง ก้น ก้ม เก้ย ก้าว
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ก๊ง ก๊น ก๊ม เก๊ย ก๊าว
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ก๋ง ก๋น ก๋ม เก๋ย ก๋าว
พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น กะ กก กด กบ กาก กาด กาบผันด้วยวรรณยุกต์โท เป็นเสียงโท เช่น ก้ะ ก้ก ก้ด ก้บ ก้าก ก้าด ก้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊ะ ก๊ก ก๊ด ก๊บ ก๊าก ก๊าด ก๊าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋ะ ก๋ก ก๋ด ก๋บ ก๋าก ก๋าด ก๋าบ
อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์เอก วรรณยุกต์โท คำเป็นผันได้ 3 คำ
พยัญชนะเสียงต่ำ
คำเป็นพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาวผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้า
คำตายสระสั้นพื้นเสียงเป็นตรี เช่น คะ คก คด คบผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋ะ ค๋ก ค๋ด ค๋บ
สระยาวพื้นเสียงเป็นโท เช่น คาก คาด คาบ
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ
ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวาเป็นเสียงจัตวา เช่น ค๋าก ค๋าด ค๋าบ
จะเห็นได้ว่าอักษรสูงกับอักษรกลางมีเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์เสมอ แต่อักษรต่ำจะมีเสียงสูงกว่ารูปวรรณยุกต์หนึ่งขั้น เว้นไว้แต่วรรณยุกต์จัตวาซึ่งเสียงคงเป็นจัตวาตามรูปวรรณยุกต์ เพราะไม่มีเสียงใดที่จะสูงไปกว่านั้นอีก เพราะเหตุที่อักษรต่ำมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ จึงมักทำให้เกิดความงง ในเวลาต้องการจะทราบเสียงวรรณยุกต์ที่แท้จริง แต่ถ้าเข้าใจวิธีผันอักษรกลางเป็นอย่างดีแล้วก็สามารถเทียบเสียงได้โดยอาศัยอักษรกลางเป็นหลัก


พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 รูป 
ก  ข ฃ ค ฅ
ฆ  ง จ  ฉ ช
ซ  ฌ ญ ฎ ฏ
ฐ  ฑ ฒ ณ ด
ต  ถ ท ธ น
บ  ป ผ ฝ พ
ฟ  ภ ม ย ร
ล  ว ศ ษ ส
ห  ฬ อ ฮ




พยัญชนะมี 21 เสียง 
1. ก 
2. ข ฃ ค ต ฆ 
3. ง 
4. จ 
5. ฉ ช ฌ 
6. ซ ศ ษ ส 
7. ญ ย 
8. ฎ ด กับเสียง 
9. ฑ บางคำ 
10. ฏ ต 
11. ฐ ถ ฑ ฒ ท ธ 
12. น ณ 
13. บ 
14. ป 
15. ผ พ ภ 
16. ฝ ฟ 
17. ม 
18. ร 
19. ล ฬ 
20. ว 
21. ห ฮ 
22. เสียง อ ไม่นับ
เสียงพยัญชนะ 
พยัญชนะเสียงสูง : ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 
พยัญชนะเสียงกลาง : ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ 
พยัญชนะเสียงต่ำ : ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
ไตรยางศ์ 
ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้นไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่า สามส่วน การจัดหมวดหมู่ไตรยางศ์ 
เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
พยัญชนะเสียงสูงมี 11 ตัว เเละผันได้เสียงที่ 5, 2 เเละ 3 
อักษรสูง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับสูง มีทั้งหมด 11 ตัว
วิธีท่องจำง่ายๆ : ผ ฝ ถ ฐ ข ฃ ศ ษ ส ห ฉ (ผี ฝาก ถุง ขาว สาร ให้ ฉัน)
พยัญชนะเสียงกลางมี 24 ตัว เเละผันได้ทั้งหมด 5 เสียง 
อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด 9 ตัว
วิธีท่องจำง่ายๆ : ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ (ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง) การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลางผันได้ครบ 5 เสียง ใช้วรรณยุกต์ได้ 4 รูป
พยัญชนะเสียงต่ำมี 9 ตัว เเละผันได้เสียงที่ 1, 3 เเละ 4
อักษรต่ำ หมายถึง พยัญชนะที่ยังไม่ได้ผันวรรณยุกต์ แล้วมีเสียงอยู่ในระดับต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัว 

• ต่ำคู่ มีเสียงคู่อักษรสูง 14 ตัว พ ภ ฟ ฑ ฒ ท ธ ค ต ฆ ซ ฮ ช ฌ 
• ต่ำเดี่ยว(ไร้คู่) 10 ตัว
วิธีท่องจำง่ายๆ : 
ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล (งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก)
หน้าที่ของพยัญชนะ 
1. เป็นพยัญชนะต้นกา
2. เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์ ก ป ส กล ส พ เป็นพยัญชนะต้น 
3. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด) เกิ เป็ ชา หมา รั นี้ หนั อ (พยัญชนะที่ขีดเส้นใต้เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์หรือท้ายคำ เรียกว่าตัวสะกด)
4. ทำหน้าที่เป็นอักษรควบ
5. ทำหน้าที่เป็นอักษรนำ-อักษรตาม
6. ทำหน้าที่เป็นเป็นสระ (อ ว ย ร)
7. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์
พยัญชนะตัวสะกดพยัญชนะตัวสะกดมีทั้งสิ้น 39 ตัวเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น 8 เสียงเรียกว่ามาตราตัวสะกด 8 มาตราดังนี้ 
• แม่กก ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เช่น นก เลข โรค เมฆ 
• แม่กด ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น เปิด จิต รถ บาท โกรธ กฎ ปรากฏ เท็จ บงกช ก๊าซ อากาศ พิเศษ โอกาส อิฐ 
• แม่กบ ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ 
• แม่กน ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ 
• แม่กง ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง 
• แม่กม ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม 
• แม่เกย ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย 
• แม่เกอว ออกเสียงสะกด  ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด เช่น สิว หิว วัว
พยัญชนะควบกล้ำ 
พยัญชนะควบกล้ำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวประสมสระเดียวกันมี ร ล ว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
• ควบกล้ำแท้ เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว เช่น 
ควบด้วย ร กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว
ควบด้วย ล กล้วย กลีบ ไกล แปลง
ควบด้วย ว ไกว แกว่ง ควาย ขว้าง 

• ควบกล้ำไม่แท้ เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่น จริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี)
ตัวอย่างคำอักษรควบแท้และไม่แท้ 
กราดเกรี้ยวเกลียวคลื่นคล้าย 
ปลุกปลอบควายคลายโกรธเกรี้ยว 
ตรวจตรากล้าจริงเพรียว 
ขวักไขว่คว่ำกล้ำกลบคลอง 
ทรายเศร้าเคล้าคลึงศรี 
ทราบโทรมตรีปลีกล้วยพร่อง 
ครึ้มครึกตริตรึกตรอง 
เปล่าพลิกกลองแปรเปลี่ยนแปลง
อักษรนำ-อักษรตาม
อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำแบ่งตามลักษณะการอ่านได้ 2 ชนิด คือ 
• อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกันเมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ
ตัวอย่าง
 : เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญิง เหลือ หลาย เหลว ไหล (หรู หรา – หรูหรา – ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห) (หญิง หญ้า ใหญ่ – หยิง – ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห)
ตัวอย่าง : เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก 
(อย่า อยู่ อย่าง อยาก – หย่า หยู่ หย่าง หยาก – อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ)
• อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระอะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก เช่น 
ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห 
ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห 
ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต 
สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส 
ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวอย่างคำอักษรนำ-อักษรตาม 
ขยะขยาดตลาดเสนอ … ฉลาดเสมอเฉลิมไฉน 
สนิมสนองฉลองไสว … เถลไถลหวาดหวั่นแสวง 
อย่าอยู่อย่างอยากเผยอ … ตลิ่งตลบเสนอถลอกแถลง 
จมูกถนัดขยะแขยง … สวะสวิงหน่ายแหนงขยับขยาย 
หรูหราหรุบหรับ(สา)หร่าย … สลับสลายเสนาะสนุกสนาน 
สลิดเสลดสลัดสมาน … หวังหลอกเหลนหลานหลากหลาย
สระ (อ ว ย ร) เช่น
สรรค์ รร ทำหน้าที่แทนวิสรรชนีย์ หรือสระอะ
กวน  เป็นสระอัวลดรูป
เสีย  เป็นส่วนประกอบของสระเอีย
ขอ เสือ มือ  เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ
ตัวการันต์ เช่น
จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์
ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์
ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์
พยัญชนะไทยที่พึงสังเกตและควรจดจำ 
อักษร ฃ นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของพยัญชนะ ฃ และสันนิษฐานว่า ฃ นั้นเดิมมีฐานเสียงที่แตกต่างจากฐานเสียงของ ข โดยมีลักษณะเสียงเป็นพยัญชนะลิ้นไก่อโฆษะ ซึ่งพบได้ในภาษาต่างๆในกลุ่มภาษาไท และภาษาอื่น ในภายหลังหน่วยเสียงนี้ค่อยๆสูญหายไป โดยออกเสียง ข แทน เป็นที่น่าสังเกตว่า ฃ มีใช้ในตำแหน่งที่เป็นพยัญชนะต้น ไม่ปรากฏในตำแหน่งตัวสะกดเลย นอกจากนี้ยังมีข้อที่น่าสังเกตว่าคำว่า “ขวด” ซึ่งเป็นชื่อของพยัญชนะตัวนี้ ก็ไม่เคยเขียนด้วย ฃ (นั่นคือ ฃวด) มาก่อนเลย สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรกๆที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้าง
อักษร ฅ เป็นอักษรที่เลิกใช้แล้ว ไม่มีคำศัพท์ในหมวดคำ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ยังมีการใช้ ฅ อยู่บ้างในบางแวดวง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ตัวอักษรไทยมีใช้ครบ 44 ตัว เท่าที่พบเห็นมักจะใช้ในคำว่า ฅน (คน)
อักษร ฑ ในคำไทยบางคำอ่านออกเสียงเป็น /ท/ อย่างคำว่า มณโฑ (มน-โท) บุณฑริก (บุน-ทะ-ริก) แต่บางครั้งออกเสียงเป็น /ด/ เช่น มณฑป (มน-ดบ) บัณฑิต (บัน-ดิด)
อักษร ณ ตัวเดียวสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ ณ อ่านว่า นะ แปลว่า “ที่” เป็นคำบุพบท
อักษร บ ตัวเดียวแล้วเติมไม้เอก โดยไม่มีสระสามารถเป็นคำได้หนึ่งคำ คือ บ่ อ่านว่า บ่อ หรือ เบาะ แปลว่า “ไม่” เป็นคำพิเศษที่แสดงถึงความเป็นตรงกันข้าม
อักษร ร ที่เป็นพยัญชนะสะกดซึ่งตามหลังสระออ จะไม่ปรากฏตัวออ ให้ใช้ ร ต่อท้ายพยัญชนะต้นไปได้เลย เช่น กร (กอน) พร (พอน) ละคร (ละ-คอน) เป็นต้น คำไทยบางคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรและภาษาสันสกฤต จะมี ร ซ้อนกันสองตัวเรียกว่า ร หัน (รร) เมื่อตามหลังพยัญชนะต้นจะออกเสียงคล้ายมีสระอะ และสะกดด้วยแม่กนหรือพยัญชนะตัวถัดไป เช่น บรรพชา (บัน-พะ-ชา) สรรพ (สับ) ธรรมะ (ทัม-มะ) เป็นต้น
อักษร ว รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็น สระ อัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระ อัวะ และ อัว
อักษร ห จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
อักษร ฬ ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ
อักษร อ รูปสระ ตัวออ (อ) ยังสามารถใช้เป็นสระ ออ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น ใช้ถัดจากสระ อื เมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด เช่น ถือ และใช้ประสมสระ เอือะ เอือ เออะ และ เออ โดยทั่วไปเรามักจัดให้ อ เป็นเสียงนำสระ แต่ในทางภาษาศาสตร์ ถือว่า อ นั้น เป็นพยัญชนะปิดหรือหยุด
อักษร ฮ จะไม่ถูกใช้เป็นพยัญชนะสะกด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น