อักษรควบ
อักษรควบ หรือ คำควบกล้ำ คือ คำที่ออกเสียงครั้งละ 1 พยางค์ แต่อ่านออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ คำควบกล้ำจะมี 2 ชนิด คือ อักษรควบแท้ และ อักษรควบไม่แท้ คำที่มีอักษรควบกล้ำชนิดที่เรียกว่า “อักษรควบแท้” แม้จะมีไม่มาก แต่ก็เป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นความเคยชิน ตัวอย่างเช่น กรด กลด ขริบ ขลิบ ครอก คลอก ตราด ประ ปละ ผลาญ พริก พลิก
คำควบกล้ำของไทยมีขอบเขตจำกัด ในทางภาษาศาสตร์อาจจะกล่าวได้ว่า เสียงที่จะนำหน้าได้นั้นต้องเป็นเสียงแข็ง อย่าง [p t k] เท่านั้น สำหรับภาษาไทย ก็รวมทั้งเสียงที่มีลมตามออกมาด้วย ดังนี้
[p] ป [ph] พ (ผ ภ)
[t] ต (ฏ) [th] ท (ฐ ฑ ฒ ถ ธ)
[k] ก [kh] ค (ข ฃ ฅ ฆ)
[p] ป [ph] พ (ผ ภ)
[t] ต (ฏ) [th] ท (ฐ ฑ ฒ ถ ธ)
[k] ก [kh] ค (ข ฃ ฅ ฆ)
** พยัญชนะที่อยู่ในวงเล็บคือพยัญชนะที่มีวิธีการออกเสียงอย่างเดียวกันกับพยัญชนะที่อยู่นอกวงเล็บ
เมื่อพิจารณาดูคำควบแท้ในภาษาไทยก็จะเห็นได้ว่า พยัญชนะที่อยู่ในวงเล็บมีคำควบกล้ำน้อยกว่าหรือไม่มีเลย ดังนี้
[pr] ประ [pl] ปละ [phr] พริก [phl] พลิก, ผลาญ
[tr] ตราด [tl] – [thr] – [thl] -
[kr] กรด [kl] กลด [khr] ขริบ, ครอก [khl] ขลิบ, คลอก
[pr] ประ [pl] ปละ [phr] พริก [phl] พลิก, ผลาญ
[tr] ตราด [tl] – [thr] – [thl] -
[kr] กรด [kl] กลด [khr] ขริบ, ครอก [khl] ขลิบ, คลอก
ภาษาไทยมีเสียงควบแท้ [tr] แต่ไม่มี [tl] ดังจะเห็นได้ว่า คำว่า “ตราด” เราออกเสียงควบกล้ำ แต่คำว่า “ตลาด” เราอ่านแยกเรียงพยางค์ ส่วนเสียง [thr] นั้น แต่เดิมโดนแปลงเสียงเป็น [s] หรือ [ซ] เช่น ทราย ทรุดโทรม ฯลฯ กลายเป็นคำในกลุ่มปิดกลุ่มหนึ่งของภาษาไทย ในปัจจุบันเมื่อเริ่มรับเสียงจากภาษาอังกฤษจึงเกิดเสียงควบกล้ำใหม่ เช่น ทรอย (Troy) ทริป (trip) แต่ก็ยังไม่มีเสียงควบกล้ำ [thl] คำที่มีเสียงควบแท้ทำท่าว่าจะเป็นคำในกลุ่มปิด เพราะมีสมาชิกจำกัด แต่แล้วอิทธิพลของเสียงจากภาษาอังกฤษก็ทำให้เกิดเสียงควบแท้เสียงใหม่ๆ ขึ้นมาอีก 5 เสียง คือ
[dr] ดราฟต์ (draft)
[br] บรอนซ์ (bronze) [bl] บล็อก (block)
[fr] ฟรี (free) [fl] ฟลุก (fluke)
[dr] ดราฟต์ (draft)
[br] บรอนซ์ (bronze) [bl] บล็อก (block)
[fr] ฟรี (free) [fl] ฟลุก (fluke)
คำในกลุ่มนี้จึงกลายเป็นกลุ่มเปิด แต่เปิดในขอบเขตจำกัด เพราะยังมีเสียงควบกล้ำแบบควบแท้อีกมากมายที่คนไทยออกเสียงไม่ถนัด ไม่ว่าจะเป็นคำจากภาษาบาลีสันสกฤต เขมร หรือภาษาอังกฤษก็ตาม เช่น เชรา [เชฺรา] (ภาษาเขมร แปลว่า ซอกผา, ห้วย) ศฤงคาร [สิงคาน, สะหฺริงคาน] (ภาษาสันสกฤต แปลว่า ความใคร่) สแลง (จากภาษาอังกฤษว่า slang) ขอให้สังเกตว่า คนไทยไม่สามารถจะออกเสียง ช ช้าง ควบกับ ร เรือ ได้ ในกรณีของ “ศฤ” หรือ “สร” ก็ไม่สามารถจะควบกล้ำได้ ต้องใช้วิธีตัดเสียงหรือแทรกเสียงอะ ส่วนเสียง [sl] นั้น คนไทยก็ควบกล้ำไม่ได้ ต้องแทรกเสียงอะ เช่นกัน
ในขณะที่คำควบกล้ำแท้มีลักษณะทั้งปิดและเปิด แต่คำควบกล้ำไม่แท้น่าจะเป็นกลุ่มปิด เพราะมีคำเพียงไม่กี่คำที่อยู่ในกลุ่มนี้ และแทบจะไม่มีคำเพิ่ม เช่น จริง ไซร้ ศรัทธา ศรี เศร้า สรง สรวง สรวม สรวย สรวล สร้อย สระ (น้ำ) สร้าง เสริม
คำเหล่านี้ล้วนแต่อ่านออกเสียงโดยไม่มีเสียง ร เรือ ควบ ทั้งสิ้น คำในกลุ่มนี้นอกจากจะไม่มีสมาชิกเพิ่มแล้ว ในปัจจุบันยังเกิดปรากฏการณ์ ๒ อย่าง คือ อย่างแรก มีผู้ตัดตัว ร เรือ ทิ้งไป เพราะเห็นว่าไม่ได้ออกเสียงแล้ว เช่น เขียน “จริง” เป็น “จิง” เช่นเดียวกับที่ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเปลี่ยนรูปการเขียนจาก through เป็น thru อย่างที่สอง บางคนก็เพิ่มเสียงอะลงไป เช่น อ่านคำ “แม่สรวย” เป็น [แม่-สะ-รวย]
วลี / พยางค์
วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น “คำหลัก” ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลีได้ดังนี้คือ
- นามวลี (NP) เป็นวลีที่มีคำนามเป็นคำหลักของวลี เช่น แมวบนเสื่อ, บ้านริมน้ำ
- กริยาวลี (VP) เป็นวลีที่มีคำกริยาเป็นคำหลักของวลี เช่น กินข้าว, กระโดดขึ้นลง
- บุพบทวลี (PP) เป็นวลีที่มีคำบุพบทเป็นคำหลักของวลี เช่น ที่สุดถนน, หน้าร้านอาหาร
พยางค์ เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ และเสียงสะกด
เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น
อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ)
ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล)
ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด)
คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล)
ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร)
ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น
อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ)
ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล)
ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด)
คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล)
ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร)
ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น
งา (เสียงสระ อา)
ชล (เสียงสระ โอะ)
เสีย (เสียงสระ เอีย)
เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น
งา (เสียงสระ อา)
ชล (เสียงสระ โอะ)
เสีย (เสียงสระ เอีย)
เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น
ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก)
เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท)
สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น
ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก)
เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท)
สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น
การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่งๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า 1 พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง 2 ครั้ง เราก็ถือว่ามี 2 พยางค์ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น 1 พยางค์
ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้
ไร่ | มี 1 พยางค์ |
ชาวไร่ | มี 2 พยางค์ (ชาว – ไร่) |
สหกรณ์ | มี 3 พยางค์ (สะ – หะ – กอน) |
โรงพยาบาล | มี 4 พยางค์ (โรง – พะ – ยา – บาน) |
นักศึกษาผู้ใหญ่ | มี 5 พยางค์ (นัก – สึก – สา – ผู้ – ใหญ่) |
สหกรณ์การเกษตร | มี 6 พยางค์ (สะ – หะ – กอน – กาน – กะ – เสด) |
จากตัวอย่างข้างบนนี้สรุปได้ว่า
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา 1 ครั้ง ก็เรียก 1 พยางค์ 2 ครั้งก็เรียก 2 พยางค์ พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อมๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา 1 ครั้ง ก็เรียก 1 พยางค์ 2 ครั้งก็เรียก 2 พยางค์ พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อมๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น