ระดับภาษาและการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ระดับของภาษา
หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตาม โอกาส
หรือ กาลเทศะ ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร และ
ตามเนื้อหาที่สื่อสาร
การศึกษาเรื่องระดับของภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกัน
ไม่เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร และความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล
รวมทั้งยังทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วย
การศึกษาเรื่องระดับภาษาอาจพิจารณาได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่างๆ
เช่น พิจารณาตามฐานะของบุคคล ตามเนื้อหา และตามกาลเทศะที่สื่อสาร
ในที่นี้จะกล่าวถึงการพิจารณาระดับภาษา ตามกาลเทศะ / โอกาส ในการใช้ภาษา
เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้ภาษา ในสถานการณ์ ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
(๑)
ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีลักษณะเป็นพิธีการ
ถูกต้องตาม
แบบแผนของภาษาเขียน แบ่งออกเป็น
(๑.๑) ภาษาระดับพิธีการ เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ
รูปประโยคถูกต้องตามหลัก
ไวยากรณ์
มีความประณีต งดงาม อาจใช้ประโยคที่ซับซ้อนและใช้คำระดับสูง
ภาษาระดับนี้จะใช้ในโอกาส สำคัญ ๆ เช่น งาน ราชพิธี วรรณกรรมชั้นสูง เป็นต้น
(๑.๒)
ภาษาระดับมาตรฐานราชการ หรือ อาจเรียกว่า ภาษาทางการ / ภาษาราชการ
เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ รูปประโยคถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เน้นความชัดเจน
ตรงประเด็นเป็นสำคัญ ใช้ในโอกาส สำคัญ ที่เป็นทางการ เช่นหนังสือราชการวิทยานิพนธ์
รายงานทางวิชาการ การกล่าวปราศรัย การกล่าวเปิดงานสำคัญ ๆ เป็นต้น
(๒)
ภาษาแบบไม่เป็นทางการ ภาษาที่ไม่เคร่งครัดตามแบบแผน
มักใช้ในการสื่อสารทั่วไป
ในชีวิตประจำวัน
หรือ โอกาสทั่วๆ ไปที่ไม่เป็นทางการ แบ่งเป็น
(๒.๑) ภาษาระดับกึ่งทางการ
เป็นภาษาที่ยังคงความสุภาพแต่ไม่เคร่งครัดแบบภาษาทางการบางครั้งอาจใช้ภาษาระดับสนทนามาปนอยู่ด้วย
มันใช้ในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย หรือ
มีคุณวุฒิ และ วัยวุฒิสูงกว่า หรือการบรรยาย การประชุมต่างๆ
รวมทั้งใช้ในงานเขียนที่ไม่เป็นทางการเพื่อให้งานเขียนนั้นดูไม่เครียดจนเกินไป เช่น สารคดี บทวิจารณ์ เกี่ยวกับบันเทิงคดีต่างๆ
เป็นต้น
(๒.๒) ภาษาระดับสนทนา เป็นภาษาที่ใช้สนทนาโต้ตอบกับบุคคลที่รู้จักในสถานทหรือเวลาที่ไม่เป็นการส่วนตัว
หรือสนทนากับบุคคลที่ยังไม่คุ้นเคย รวมทั้งใช้เจรจาซื้อขายทั่วไป
และการประชุมที่ไม่เป็นทางการ ภาษาที่ใช้มักมีรูปประโยคง่ายๆ ที่สามารถเข้าใจทันที
แต่ยังคงความสุภาพ เช่น ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวโทรทัศน์ การเจรจาในเชิงธุระทั่วไป
เป็นต้น
(๒.๓) ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก
เป็นภาษาพูดที่ใช้สนทนากับบุคคลที่สนิทคุ้นเคยมักใช้สถานที่ส่วนตัว
หรือ ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือ การทะเลาะวิวาท
ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูดที่ไม่เคร่งครัด อาจมีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบปะปน
โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน ยกเว้นงานเขียนประเภท เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย
ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ การเขียนบทละคร ฯลฯ
การใช้ภาษาผิดระดับย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร
ผู้รับสารอาจเห็นว่าผู้ส่งสารไม่รู้จักกาลเทศะขาดความจริงใจ เสแสร้ง การแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่างๆ
นั้นมิได้แบ่งกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับภาษาอีกระดับหนึ่ง
หรือใช้ปะปนกันได้ การพิจารณาระดับภาษาระดับภาษาอาจต้องพิจารณาจากข้อความโดยรวมในการสื่อสารนั้น
ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับต่าง
ๆ
(๑) “...ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช
จงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทวพิบัติทั้งปวง
อริราชศัตรูภายนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาล ภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว
บันดาลความสุขความมันคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็นแก่ อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา...”
(ภาวาส บุนนาค, “ราชาภิสดุดี.” ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.)
(ภาวาส บุนนาค, “ราชาภิสดุดี.” ในวรรณลักษณวิจารณ์เล่ม ๒ หน้า ๑๕๙.)
(๒) “... บทละครไทยเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดงรูปแบบที่นิยมกันมาแต่เดิมคือบทละครรำต่อมามีการปรับปรุงละครรำให้ทันสมัยขึ้นตามความนิยมแบบตะวันตกจึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น
ได้แก่ ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับรูปแบบละครจากตะวันตกมาดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทยและวัฒนธรรมไทย
ทำให้การละครไทยพัฒนาขึ้นโดยมีกระบวนการแสดงที่แตกต่างไปจากละครไทยที่มีอยู่มาเป็นละครร้อง
ละครพูดและละครสังคม”
(กันยรัตน์
สมิตะพันทุ,
การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบทความ วิชาการ ๒๐ ปี ภาควิชาภาษาไทย หน้า
๑๕๘)
(๓) “... ฉะนั้นในช่วงเรียนอยู่ระดับมัธยม
ผู้ที่ขยันมุ่งมั่นจะเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้จะไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบกายทั้งสิ้นยกเว้นสิ่งที่เขาคิดว่าจะสามารถทำให้เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ชีวิตนักเรียนมัธยมจึงมีแต่ติวติวและติว
กีฬาฉันไม่เล่น กิจกรรมฉันไม่มีเวลาทำ
และยิ่งห้องสมุดฉันไม่ทราบว่าจะเข้าไปทำไมเพราะเวลาทั้งหมดจะต้องใช้ท่องตำราอย่างเดียวแล้วก็มักจะประสบความสำเร็จตามที่คิดเสียด้วย
คือ สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้...”
(เปล่งศรี อิงคนินันท์ ต้องขอให้อาจารย์ช่วย ก้าวไกล ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ หน้า ๒๗)
(๔) “...จากกรณีที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดังแห่งวัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด
จ.นครราชสีมาได้อาพาธลงอย่างกะทันหัน
มีอาการอ่อนเพลียอย่างหนักเนื่องจากต้องตรากตรำทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเคาะหัวให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์จนไม่มีเวลาพักผ่อนเกิดอาการหน้ามืดจนกระทั่งลูกศิษย์ต้องหามส่งโรงพยาบาลมหาราชนายแพทย์เจ้าของไข้ได้ตรวจร่างกายแล้วแจ้งให้ทราบว่าเป็นไข้หวัด”
(เดลินิวส์
๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙)
(๕) “....
มึงจะไปไหนไอ้มั่นกูสั่งให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้นไม่ต้องสนใจกูอยากนั่งดูมันมองมันตายช้าๆเลือดไหลออกจนหมดตัวและหยุดหายใจในที่สุดถึงจะสมกับความแค้นของกู…”
(วราภา, นางละคร,
สกุลไทย ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๒๑๖๒ หน้า ๑๐๗)
(๖) “... บิ๊กจา เตรียมเดินเครื่องวางงานกีฬายาวจะเสนอเป็นคณะกรรมาธิการวุฒิสภาการกีฬาดันงบหนุนซีเกมส์
เอเชียนเกมส์ กับความเป็นเจ้าเหรียญทองส่วนสมาคมตะกร้อว่าแตกเป็นเสี่ยงให้พิสูจน์กันในตะกร้อคิงส์คัพหนที่
๑๒ ใครผลงานดีได้พิจารณามาทำทีมชาติ”
(เดลินิวส์ ๒๗ มีนาคม
๒๕๓๙)
ภาษาพูด-ภาษาเขียน
การศึกษาระดับภาษาอาจพิจารณาในด้านรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งภาษาเป็น
๒ กลุ่มใหญ่ๆคือภาษาพูด และภาษาเขียน
(๑)
ภาษาพูด หมายถึง
ภาษาที่มักใช้สื่อสารทางวาจาในชีวิตประจำวัน หรืออาจใช้งานเขียนที่
ไม่เป็นทางการ
เช่นบทความวิจารณ์ข่าว ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา หรือในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ
*
ภาษาพูดสามารถเลือกใช้ถ้อยคำได้หลายระดับขึ้นกับโอกาสที่พูดและฐานะชองบุคคลที่
สื่อสารด้วยแต่จะไม่เคร่งครัดมากนัก
*
ระดับภาษาที่จัดเป็นภาษาพูด ได้แก่ ระดับสนทนา ภาษาระดับกันเอง
(๒)
ภาษาเขียน หมายถึง
ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สามารถนำมา
อ้างอิงได้ภาษาเขียนที่ใช้ในงานเอกสารที่เป็นทางการจะใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐาน
(ภาษาทางการ)ยึดหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง อ่านเข้าใจง่าย
และไม่นำภาษาพูดมาปะปนผู้เขียนควรขัดเกลาถ้อยคำสำนวนให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์
*
ระดับภาษาที่จัดเป็นภาษาเขียน ได้แก่ ภาษาระดับพิธีการ ระดับมาตรฐานราชการ
* ภาษาระดับกึ่งทางการ
อาจจัดเป็นภาษาเขียนที่ไม่เคร่งครัดนัก หรือจัดเป็นภาษาที่ ค่อนข้างเป็นทางการหรือใช้ในโอกาสสำคัญ
หลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
ภาษาใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการควรใช้ภาษาเขียนในระดับทางการ
โดยต้องหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูด และต้องคำนึงถึงความถูกต้องเรื่องความหมาย
และแบบแผนการใช้ภาษาทั้งในด้านการใช้คำและประโยค เน้นความถูกต้อง กระชับ
ชัดเจน ตรงประเด็น
(
๑ ) การใช้คำ การใช้คำต้องพิจารณาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
ความหมาย และระดับของคำนั้นๆ
(๒) การใช้ประโยค การใช้ประโยชน์ต้องพิจารณาให้ประโยคที่ใช้นั้นถูกต้อง
กะทัดรัด ชัดเจน และสละสลวย และลำดับคำในประโยคถูกต้อง
ตัวอย่างการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง
๑.คนพาลนั้นถ้าเลี่ยงได้เราควรจะเลี่ยงเสียในกรณีที่เลี่ยงได้
๒. คนยากจนที่ขัดสนเงินทองย่อมต้องทำงานหนัก
๓. คนที่จับเชือกควรจะเป็นคนสาว
๔. เขาไม่ชอบทานข้าวเย็น
๕. ส่วนผสมมีแป้ง
มัน น้ำตาล ทราย เกลือสีผสมอาหารและไข่ไก่
๖. เราไปเยี่ยมคนเจ็บด้วยกัน
เมื่อไปถึงคนไข้อาการดีขึ้นแล้ว
๗. เขาถูกมองอย่างดูถูกจากเพื่อนๆ
๘. เขาเข้ามาในห้องพร้อมกับหนังสือ
๙. การเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารนั้น
ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานของการสื่อสาร ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการเขียน และทักษะการอ่าน
๑๐.
องค์การโทรศัพท์กำลังปรับปรุงการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
๑๑. ฉันรู้สึกเหงาและเมื่อฉันรู้จักเพื่อนๆมากขึ้นฉันรู้สึกอุ่นใจ
๑๒. เนื่องจากรถของฉันเสียและฉันต้องนั่งรถไฟฟ้ามาทำงาน
๑๓. วัดนี้มีพระภิกษุจำพรรษา
๑๒ องค์
๑๔. สองนักโทษถูกประหารชีวิตเมื่อวานนี้
๑๕. ถ้าเราพลาดไปนิดเดียว
เราก็จะเกิดการเสียใจ
๑๖.
รถค่อยๆเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว
๑๗.
ทุกๆวันฉันต้องไปขึ้นเรือที่ท่าน้ำสี่พระยาและลงที่วังหลัง
๑๘.
แม่ค้าหาบเร่ตั้งของขายขัดขวางการจราจร
๑๙.
พุทธศาสนาเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวจิตใจของประชาชน
๒๐.
ในห้องนี้มีคนอยู่กันแน่นหนามาก
๒๑.วันนี้ดวงสุริยาขึ้นพ้นขอบฟ้าเวลา
o๔.๓๖
๒๒.คุณปู่เจ็บหนักมานานแล้วเราคาดหวังกันว่าท่านคงอยู่ได้อีกไม่นาน
๒๓.เจ้ามองของแก่พระภิกษุ
๒๔.สตรีแต่ละคนนั้นมีท่าทีที่เข้มแข็งและเป็นนักสู้ไม่แพ้ผู้ชาย
๒๕. นักศึกษาส่วนมากมาสายทุกคน
๒๖. สุนัขของผมเขาชอบทานอาหารกระป๋อง
๒๗.วันนี้จะมีการชิงอีก
๒๐ เหรียญทอง ที่ผ่านมาไทยได้มาถึง ๑๘ เหรียญทอง
๒๘. ฉันมีน้องชายอายุอ่อนกว่าฉันคนหนึ่ง
๒๙.แสงอาทิตย์ให้ความอบอุ่นกับเราตลอดเวลา
๓๐.
รัฐบาลสร้างอนุสาวรีย์ให้แก่ทหารที่เสียชีวิตในวัดพระศรีมหาธาตุ
๓๑. ราคาสินค้าในตลาดขึ้นฮวบฮาบ
๓๒. ปัจจุบันโคราชเป็นจังหวัดเจริญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๓๓.นักธุรกิจเหล่านี้ทำยังไงถึงได้ร่ำรวยอย่างนี้
๓๔.
นักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรมควรจะมีการแบ่งเวลาในการเรียนและการทำกิจกรรมให้เหมาะสมด้วย
และควรที่จะมีความขยันในการอ่านหนังสือให้มากกว่านักศึกษาธรรมดาอีกด้วย
๓๕.การเคารพพระรัตนตรัยคือการยึดมั่นในพระธรรม
คำสั่งสอน พระพุทธคุณ และพระสังฆคุณ
******************************